ห้องเรียนออนไลน์ครูแมว@ควนมีด

1. ชื่อผลงาน

ห้องเรียนออนไลน์ครูแมว@ควนมีด

2. ผู้ออกแบบ/พัฒนา

นางสาวจิระนันท์ ทิพวาศรี ครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนวัดควนมีด

3. ความเป็นมา/ความสำคัญ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา และเกิดการแพร่หลายของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสารสนเทศขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่นักเรียน มีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ฉะนั้น การเตรียมการ และการฝึกฝนทักษะของครูไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การถ่ายทอด และการเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักเรียน โดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุดจึงเป็น
เรื่องที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิมเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งการสอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการ จัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและการประเมินผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวิธี ที่จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้
การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน
และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเรียนรู้วิถีใหม่ (New Normal)

4. วัตถุประสงค์

  • ผู้เรียนได้ประสบการณ์ใหม่และฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้
  • ผู้เรียนสามารถค้นหาหรือเข้าถึงบทเรียนได้ทุกๆเวลา ทุกๆสถานที่ ที่ต้องการ
  • ผู้สอนนำเสนอเนื้อหา แบบทดสอบที่ทันสมัยให้แก่ผู้เรียน
  • เน้นการเผยแพร่ผลงานของผู้สอนสู่สาธารณะ

5. กระบวนการดำเนินงาน

  • ออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยพิจารณารูปแบบการเรียนการสอนให้ เหมาะสมกับลักษณะรายวิชา คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้สอดคล้องกับผู้เรียน โดยผู้สอนวิเคราะห์เนื้อหาวิชาให้เหมาะสมสำหรับการเลือกใช้วิธีการ จัดการเรียนรู้
  • ออกแบบสื่อการเรียนการสอน ที่มีความทันสมัยหลากหลาย และเข้าใจง่าย เช่น รูปภาพ วิดีโอ คลิป การ์ตูนแอนิเมชัน ข้อความกราฟิก เสียงพูด ดนตรีประกอบ เพื่อกระตุ้นความสนใจ รวมทั้งสื่อที่ใช้ควรมี การเชื่อมโยงกับเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาในด้านการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตามสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการปรับตัวเป็นวิถี ชีวิตแบบใหม่ (New Normal)
  • นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) ผู้สอนควรนำเสนอเนื้อหาที่กระชับ มี ภาพประกอบหรือมีผังความคิด (Mind Mapping) เพื่อให้มีเรียนมีความเข้าใจสามารถสืบค้นเนื้อหาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆได้
  • ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ วิธีการและขั้นตอนของการเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นการแนะนำวิธีการบูรณาการความรู้เดิมที่มีเชื่อมโยงเข้ากับความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสู่การใช้ความรู้ที่เหมาะสม
  • ครู Update/เผยแพร่ข้อมูล และเนื้อหาแต่ละวิชา แต่ละระดับชั้น รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนต่างๆ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และเรียนรู้ได้ทุกสถานที่ เปิดโอกาสให้การเรียนรู้ สามารถเรียนย้อนหลัง หรือทบทวนการเรียนการสอนได้ตลอดเวลา โดยครูใช้ Google site ในการจัดทำห้องเรียนออนไลน์ และใช้ Google Application ต่าง ๆ ในสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนออนไลน์ให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และน่าสนใจ เพื่อเป็นการฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน

6. ผลการดำเนินงาน

  • ทำให้นักเรียนรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
  • เกิดการบริหารจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนได้โดยตรง
  • ผู้เรียน สะดวกสบาย จูงใจผู้เรียน
  • ผู้เรียนปฏิบัติมีทักษะการใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชัน ในการเรียนการสอนได้
  • ใช้เวลาเกิดการเรียนรู้ เครื่องมือ อปุกรณ์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา
  • ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้ หรือใช้ทบทวนเนื้อหาในการเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้

7. ปัญหา อุปสรรค

ผู้เรียนบางส่วนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศหรืออาจมีปัญหาทางด้านภาระค่าใช้จ่าย ทำให้พลาดการเรียนรู้ และด้วยสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่มีความแตกต่างกัน

8. ข้อเสนอแนะ/การพัฒนาเพิ่มเติมหรือต่อยอด

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการวางแผนการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อรองรับสังคมในยุค 5G ให้กับผู้เรียนในพื้นที่ห่างไกลได้เรียนรู้เท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ ลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงเทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและเป็นพลเมืองที่ดีที่จะพัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้าต่อไป